มาตรฐาน หมายถึง สิ่งที่ถือเอาเป็นหลักสำหรับเทียบ
คุณธรรม หมายถึงสภาพคุณงามความดี
จริยธรรม หมายถึงธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฎิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม
มาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง สิ่งที่ต้องถือเอาเป็นหลักเทียบทางสภาพคุณงามความดีทั้งที่อยู่ภายในจิตใจ และที่แสดงออกทางกริยาที่ควรประพฤติปฏิบัติที่คนในสังคมนั้น องค์การนั้น หรือส่วนราชการนั้น ได้ยอมรับนับถือกันมา หรือได้กำหนดร่วมกันขึ้นมาใหม่ และประพฤติปฏิบัติร่วมกัน ยอมรับร่วมกันว่าข้อประพฤติอะไรเป็นสิ่งดี อะไรเป็นสิ่งชั่ว อะไรถูกอะไรผิด อะไรควรทำและอะไรไม่ควรทำ
จะเห็นได้ว่ามาตรฐานทางคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณโดยแท้ที่จริงแล้วคือเรื่องเดียวกันนั่นเอง เพราะหมายถึงการนำจริยธรรมหรือความประพฤติที่เหมาะสมสำหรับบุคคลที่อยู่ในอาชีพใดอาชีพหนึ่งมาประมวลเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้บุคคลในกลุ่มอาชีพเดียวกันนั้นปฏิบัติตาม เพื่อเป็นการสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์สำหรับผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาชีพนั้น ๆ ตัวอย่างมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมในสายวิชาชีพ มาตรฐานทางคุณและจริยธรรมสายงานการเจ้าหน้าที่ มีดังนี้
๑. พึงปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลอย่าง เคร่งครัด
๒. พึงใช้วิชาชีพการบริหารงานบุคคลด้วยความสุจริต
๓. ใฝ่หาความรู้สำรวจปรับปรุงตนเองและทำงานในหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
๔. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในหน่วยงาน
๕. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
๖. มีความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่
๗. เป็นมิตรกับข้าราชการและลูกจ้างทุกคน
๘. เก็บรักษาความลับข้อมูลที่ไม่ควรเปิดเผย
๙. มีความเสียสละเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
............................................
พวงพยอม คำมุง / เรียบเรียง
ข้อมูล : ส่วนแผนงานและพัฒนางานประชาสัมพันธ์ สำนักประชาสัมพันธ์เขต ๓ |