รัฐบาลมีนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชน
และการบริหารจัดการระบบขนส่งสินค้าและบริการ โดบเชื่อมโยงโครงข่ายในพื้นที่ชนบท
พื้นที่เมืองและระหว่างประเทศ ต่อมา รัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ
ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยและกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ว่าด้วนการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ
ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งของประเทศไทย พ.ศ.
๒๕๕๘ ๒๕๖๕ ขณะนี้
นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้เร่งรัดการดำเนินโครงการความร่วมมือไทย จีน
ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของไทยให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงสายช่วงกรุงเทพมหานคร
นครราชสีมา อยู่ระหว่างการขออนุมัติ ครม. ดำเนินโครงการ ฯ ซึ่ง การรถไฟแห่งประเทศไทยอยู่ระหว่างการเพิ่มเติมข้อมูลประกอบการพิจารณาของ
ครม. สำหรับการเจรจาลงนามในสัญญา คาดว่าจะสามารถส่งร่างสัญญาการออกแบบรายละเอียดให้สำนักงานอัยการสูงสุดได้ในเดือนมิถุนายน
๒๕๖๐
ส่วนปัญหาที่ทำให้การสร้างล่าช้า
เนื่องจากความไม่เข้าใจบริบทของกฏหมายไทยที่ฝ่ายจีนนำเป็นต้องยืนข้อเสนอในการออกแบบรายละเอียดงานโยธา
เพื่อให้ฝ่ายไทยสามารถนำไปใช้ประกวดราคาหาผู้รับเหมาตามกฏหมายและระเบียบปฏิบัติ
การคำนวณปริมาณงานกับการจัดจำนวนผู้ปฏิบัติงานยังไม่สอดคล้องกัน
ทั้งในด้านการออกแบบรายละเอียดและการควบคุมงาน
ทำให้ไม่สามารถคำนวณมูลค่าของสัญญาได้ อย่างไรก็ตาม
กระทรวงคมนาคมกำลังเร่งรัดขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้โดยเร็ว
การดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว
จะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญและจะกระทำไปด้วยความรอบคอบ
รัดกุม เพื่อให้เกิดความโปร่งในและได้รับความเชื่อถือ
และการสนับสนุนจากประชาชนอย่างมากที่สุดต่อไป
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากโครงการรถไฟความเร็วสูง
๑.เปิดโอกาสการเป็นศูนย์กลางการเดินรถ
และการซ่อมบำรุงของรถไฟระบบทางกว้างมาตรฐานของอาเซียน
๒.เชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศจีน
อินเดีย และปากีสถาน
๓.เพิ่มสัดส่วนการขนส่งสินค้าทางราง
ทำให้เกิด Modal Shift ในการขนส่งของประเทศ
๔.ส่งเสริมให้การเดินทาง
การค้า และการลงทุนระหว่างไทย ลาว และจีนเพิ่มมากขึ้น
ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอีกด้วย
๕.ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจจากการลงทุนภาครัฐ
๖.มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟและบริเวณย่านสถานีรถไฟ
ทำให้เกิดเศรษฐกิจใหม่ รวมทั้งช่วยกระตุ้นให้เกิดการกระจายความเจริญสู่ระดับท้องถิ่น
๗.มีการจ้างงานและใช้วัสดุอุปกรณ์ภายในประเทศ
๘.ประชาชนมีทางเลือกในการดำเนินทางระหว่างภูมิภาคเพิ่มขึ้น
ช่วยลดปัญหาความหนาแน่นบนท้องถนน และลดการเกิดอุบัตุเหตุจราจร