รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มปริมาณผู้เรียนสายอาชีพให้มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น
ให้สอดคล้องกับความต้องการกำลังคนภาคเศรษฐกิจของประเทศ
และเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน กระทรวงศึกษาธิการ จึงพิจารณาดำเนินการโครงการขยายและยกระดับการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา
ได้จัดทำแผนผังความเชื่อมโยงระหว่างคุณลักษณะ /
สาขาวิชาชีพของแรงงานที่ภาคอุตสาหกรรมและภาคอื่น ๆ ต้องการ
โดยแบ่งอุตสาหกรรรมออกเป็นกลุ่ม First
S-CURVE ได้แก่วสาขาวิชายานยนต์สมัยใหม่
อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี
และการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหาร และกลุ่ม New S- CURVE ได้แก่ สาขาวิชาหุ่นยนต์
การบินและโลจิสติกส์ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล และการแพทย์ครบวงจร
อีกทั้ง
ยังได้เตรียมความพร้อมในการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
โดยให้สถานศึกษาในพื้นที่ ๓ จังหวัด ได้แก่ จ.ชลบุรี จ.ฉะเชิงเทรา และ จ.ระยอง
เปิดสอนในสาขาวิชาช่างอากาศยาน ระบบขนส่งระบบราง ปิโตรเคมี ปิโตรเลียม เป็นต้น
พร้อมทั้งตั้งศูนย์ประสานงานทั้ง ๓ จังหวัด
สถานประกอบการสามารถเข้าร่วมจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี
โดยใช้กลไกเข้าร่วมการเรียมการสอนระบบทวิภาคีได้ ๒ แนวทาง ได้แก่
๑.ขอรับสิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
๒.ประสานไปยังสถานศึกษาในพื้นที่เข้าร่วมจัดการเรียนการสอนในระบบทวิภาคี
โดยสามารถใช้สิทธิลดหย่อนทางภาษีได้ตามเงื่อนไขของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมสรรพากร
ซึ่งทั้งสองกลไกนี้
เป็นการสร้างแรงจูงใจให้สถานประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการพัฒนาการศึกษาอาชีวศึกษาทวิภาคี
๑.ผู้เรียนด้านวิชาชีพ
มีทักษะฝีมือที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น ตรงความต้องการพัฒนาประเทศ
๒.การจัดการอาชีวศึกษามีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น
ประชาชนมีทัศนคติที่ดี ต้องการส่งบุตรหลานเข้าเรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น
๓.ภาคเอกชนจะได้กำลังคนทั้งปริมาณและคุณภาพ
มีสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการ ครอบคลุมอุตสาหกรรม First S CURVE
และ New S
CURVE ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ และขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่ Thailand ๔.๐