ประเด็นความเหลื่อมล้ำในสังคม/ปัญหาเรื่องการครอบครองที่ดิน
นับแต่อดีต
ดินและน้ำเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ การผลิตในภาคเกษตรกรรมเพราะประเทศไทย
มีผู้ที่ประกอบอาชีพภาคการเกษตรจำนวน
11.34 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 14.42 เปอร์เซ็นต์ของประชาการ ซึ่งมากกว่าอาชีพอื่นทั้งหมด
รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับเรื่องที่ทำกินและน้ำ เป็นอันดับต้น ๆ
โดยได้ดำเนินการต่าง ๆ
เพื่อคลี่คลายปมความขัดแย้งและแตกแยกของผู้คนในสังคม
เพื่อสร้างความปรองดองและสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
รัฐบาลได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ
เร่งสร้างความสุขสงบให้กับคืนมา โดยออกคำสั่ง คสช.ที่ ๓/๐ เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม
๒๕๖๐ เรื่องการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ
ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) ขึ้น
และเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นร่วมอย่างอิสระจากตัวแทนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ
และผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก รวม ๑,๐๒๒ ครั้ง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
เพื่อกำหนดเป็นกติกาและให้ทุกคนเคารพในเรื่องเดียวกัน
อันเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจากการรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน
ทำให้รัฐบาลเร่งดำเนินการแก้ปัญหาจากผลการรับฟังทันที อาทิเช่นการออกกฎหมายช่วยเหลือเกษตรกรที่ทำสัญญากับนายทุนอย่างไม่เป็นธรรม
โดยมีมาตรการธนาคารที่ดินของรัฐเป็นทางเลือก การเร่งรัดจัดทำแผนที่
เกษตรกรแบบออนไลน์เพื่อนำเกษตรกรไทยก้าวไปสู่
ไทยแลนด์ 4.0
การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
หรือ ศาสตร์ของพระราชามาปรับใช้
ส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องโครงการเกษตรแปลงใหญ่ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตร สร้างอำนาจการต่อรอง
และเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดอันนำไปสู่การแก้ไขปัญหา มีการจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรมระหว่างภาคธุรกิจ
ภาคโรงแรม ภาคเกษตรกรรมและชุมชน และส่งเสริมให้มีการรวมตัวในรูปแบบสหกรณ์ ทำให้พี่น้องประชาชนอยู่ดีมีสุขแบบยั่งยืน
และนี้ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสะท้อนปัญหาและการแก้ปัญหาบางส่วนเท่านั้น
ยังมีความต้องการของประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่รัฐบาลกำลังศึกษาและเร่งดำเนินการ อาทิเช่นการจัดตั้งกระทรวงน้ำ
และธนาคารที่ดิน เพื่อนำไปสู่การดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อให้คนไทยมีความสุข มีอนาคตที่ดีขึ้น ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้
จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำจากการครอบครองที่ดินและบริหารจัดการน้ำ
ทำให้ประชาชนมีความเสมอภาค เข้าใจ ยอมรับ มีส่วนร่วมต่อการสร้างสันติสุขด้วยตัวเอง
จากกระบวนการสร้างความสามัคคีปรองดองที่รัฐบาลกำลังดำเนินการอยู่
สามัคคีปรองดอง
คือการทำให้คนที่คิดต่างกันอยู่ร่วมกันได้ในกรอบสังคมที่กำหนด
อาจจะไม่ใช้เป็นกฎหมาย แต่อาจเป็นบรรทัดฐานใหม่ของสังคมที่เรากำหนดร่วมกัน
เห็นผลจริง สัมผัสได้ เพราะปรองดองเป็นของประชาชน