1.โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวง-อุดมธารา
จ.เชียงใหม่
การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการขยายตัวของชุมชน
ทำให้มีความต้องการใช้น้ำในปริมาณสูงกว่าปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา
ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำ
และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคตเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
กรมชลประทานได้พิจารณาแนวทางการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ โดยการบริหารจัดการน้ำร่วมกันของลุ่มน้ำบริเวณใกล้เคียงกัน
ได้แก่ ลุ่มน้ำแม่แตง แม่งัด และแม่กวง
โครงการนี้จะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเฉลี่ยปีละ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร
ทำให้เพิ่มพื้นที่ชลประทานโครงการแม่กวงอุดมธาราในฤดูแล้งจาก 17,060 ไร่เป็น
76,129 ไร่ เพิ่มน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและอุตสาหกรรม เฉลี่ยจากปีละ 13.31
ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 49.99 ล้านลูกบาศก์เมตร
2.โครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก
จ.อุตรดิตถ์
โครงการพัฒนาชลประทานอุตรดิตถ์
(เขื่อนทดน้ำผาจุก) เป็นหนึ่งในโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำน่าน
โดยเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 52
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทาน ดำเนินการโครงการเขื่อนทดน้ำผาจุก
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 ปี (พ.ศ. 2553-2566) กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อำเภอเมือง
อำเภอลับแล อำเภอตรอน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ อำเภอศรีสัชณาลัย อำเภอศรีนคร
จังหวัดสุโขทัย อำเภอพรหมพิราม อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก กรมชลประทานได้เริ่มดำเนินการแล้ว พบว่า
งานจ้างก่อสร้างเขื่อนทดน้ำอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น
อยู่ระหว่างขออนุมัติปรับราคาและแก้ไขสัญญาจ้างก่อสร้าง ระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา
พร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 1
อยู่ระหว่างแก้ไขแบบก่อสร้างในบางพื้นที่เพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
ระบบส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งซ้ายพร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 1
ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับจ้างวัดความยาวตามแนวคลองส่งน้ำ รวมประมาณ 18 กม.
โดยจะทำรังวัดให้แล้วเสร็จและเร่งรัดให้เบิกจ่ายค่าที่ดินต่อไป
3.โครงการลุ่มน้ำตาปี
พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี
กรมชลประทานได้เริ่มศึกษาสำรวจ
เพื่อวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำตาปี-พุมดวง มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510
คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 52 ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างเป็นระยะเวลา 8
ปี ใช้งบประมาณรวม 3,330 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม
มีประชาชนในพื้นที่บางส่วนคัดค้านการก่อสร้างโครงการฯ จึงต้องใช้ พ.ร.ฎ.
เวนคืนในการจัดหาที่ดินโดยการจ่ายเงินให้กับเจ้าของที่ดิน
ในกรณีเจ้าของที่ดินไม่รับเงิน
จะใช้วิธีวางเงินไว้กับธนาคารออมสินสำหรับที่ดินบางส่วนอยู่นอกเขต พ.ร.ฎ. เวนคืนจะใช้วิธีเจรจาตกลงซื้อขาย
4.โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อ.เมืองนครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
เมื่อปลายเดือน
พ.ย. 31 ได้เกิดอุทกภัยในเขตพื้นที่หลายจังหวัดของภาคใต้
ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน พื้นที่เพาะปลูก และทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมาก
รวมทั้งในจังหวัดนครศรีธรรมราช
กรมชลประทานจึงแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาจัดทำรายงานวางโครงการและออกแบบรายละเอียดโครงการบรรเทาอุทกภัย
ฯ
อย่างไรก็ตาม
โครงการนี้ยังไม่สามารถดำเนินงานในบางส่วน เนื่องจากติดปัญหาประชาชนในพื้นที่ จึงต้องประชาสัมพันธ์ให้เกิดความรับรู้เข้าใน
หากเกิดฝนตกหนัก จำทำให้เกิดน้ำท่วมตัดผ่านถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 41
ซึ่งเกิดจากการระบายน้ำสู่ทะเลไม่ทันแต่โครงการฯ นี้จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
จึงอยู่ระหว่างเจรจาขอรับการสนับสนุนจากประชาชนในการจัดหาพื้นที่ต่อไป