นายสมชาย นิลยาภรณ์ สรรพากรพื้นที่ราชบุรี เปิดเผยว่าตามที่มีกฎกระทรวง ฉบับที่
๓๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๘)
ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่๒๖๓) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการและเงื่อนไขการยกเว้นภาษีได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือบริการ ลงวันที่
๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘
โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่
๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๘
เป็นต้นไป
๑.การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้รับใบกำกับภาษีตามมาตรา ๘๖/๔ แห่งประมวลรัษฎากร (แบบเต็มรูป) ในระหว่างวันที่ ๒๕ ธันวาคม
๒๕๕๘
โดยไม่รวมถึงสินค้าที่เป็นสุรา
เบียร์ ไวน์ ยาสูบ
น้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ
รถยนต์ รถจักรยานยนต์และเรือ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
๑.๑เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๒กรณีสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียว ให้ยกเว้นภาษีให้แก่สามีหรือภริยา
ซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่ผู้มีเงินได้จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๓กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้
๑.๓.๑ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินตนได้รับในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วตามวรรคหนึ่งของมาตรา ๕๗
ฉ แห่งประมวลรัษฎากร ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๓.๒ถ้าต่างฝ่ายต่างยื่นรายการกับเงินได้พึงประเมินเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐(๑) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่ถือเป็นได้ของอีกฝ่ายหนึ่ง ตามมาตรา
๕๔ ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๑.๓.๓ถ้าสามีภริยาตกลงยื่นรายการและเสียภาษีรวมกัน โดยถือเอาเงินได้พึงประเมินของตนเป็นเงินได้ของสามีหรือภริยาอีกฝ่ายหนึ่ง ตามวรรคสามของมาตรา ๕๗
ฉ แห่งประมวลรัษฎากร
ให้ผู้มีเงินได้ได้รับตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน ๑๕,๐๐๐ บาท
๒.ผู้มีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
จะต้องซื้อสินค้าหรือรับบริการและชำระราคาค่าสินค้าหรือบริการในระหว่างวันที่ ๒๕
ธันวาคม ๒๕๕๘ ถึงวันที่๓๑
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๘
เงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จะได้รับ ยกเว้นภาษีเงินได้
จะต้องเป็นการซื้อสนค้าหรือรับบริการเพื่อใช้ในราชอาณาจักร เฉพาะที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษีในอัตราร้อยละ ๗.๐
เท่านั้น
๓.กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ได้นำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีไปหักจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓
แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามใบกำกับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
๔.กรณีผู้มีเงินได้นำใบกำกับภาษีที่เกิดจากการจ่ายเงินได้เป็นค่าบริการให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ หรือที่ได้จ่ายเป็นค่าที่พักในโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม สำหรับการเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ไปใช้สิทธิยกวันภาษีเงินได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๓๐๕(พ.ศ.๒๕๕๗) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ผู้มีเงินได้ไม่มีสิทธินำใบกำกับภาษีนั้นมาใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
๕.การได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
ให้ผู้มีเงินได้สิทธินำเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีไปคำนวณหักจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐
แห่งประมวลรัษฎากร หลังจากหักค่าใช้จ่ายตามมาตรา ๔๒
ทวิ ถึงมาตรา ๔๖
แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว
จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน
เพื่อสิทธิประโยชน์ในทางภาษีของท่านสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือติดต่อสอบถามได้ที่ RD Call
Center โทร.๑๑๖๑ สรรพากรพื้นที่ราชบุรี โทร.๐-
๓๒๗๑-๙๕๐๐