ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม
ทรัพยากรน้ำจึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดหล่อเลี้ยงประเทศ
แต่ในปีนี้ประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก ใน ๓ พื้นที่ของประเทศ ได้แก่
ภาคเหนือ-ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา-ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำหลักของ ๔ เขื่อนใหญ่
ภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อยบำรุงแดนและป่าสักชลสิทธิ์
มีปริมาณน้ำเริ่มต้นต่ำกว่าปีที่ผ่านมาหรือปริมาณในเขื่อนหายไปกว่าครึ่ง
จากปัจจุบันมีน้ำเหลืออยู่แค่ ๓,๕๗๒ ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น ๒๐% ขณะที่กรมชลประทานจะต้องจัดการน้ำไปจนถึงต้นเดือนมิถุนายน ทุกภาคส่วนต่างมีมาตรการการรับมือวิกฤตภัยแล้งในปีนี้
ในส่วนของรัฐบาลนั้นได้ให้ความสำคัญในการสร้างความสมดุลให้กับทั้งระบบ
ได้แก่ ภาคการผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ด้วยการทำฝนเทียม
พัฒนาแหล่งน้ำ-เขื่อน-ฝาย ขุดลอกคูคลอง วางระบบชลประทาน
สร้างแก้มลิง-บ่อขนมครกตามแนวทางพระราชดำริ ปรับพฤติกรรมการเกษตร-
ไร่นาสวนผสม-โซนนิ่ง-ปลูกพืชใช้น้ำน้อย-เกษตรน้ำหยด อีกทั้งภาคครัวเรือน-น้ำอุปโภคบริโภค
ก็มีการดำเนินการขุดบ่อบาดาลหมู่บ้าน ประปาชุมชน และการรักษาสมดุลทางธรรมชาติ อาทิ
ผลักดันน้ำเค็ม เป็นต้น
นอกจากนี้ในภาคธุรกิจหรืออุตสาหกรรมรมส่วนใหญ่ก็ได้มีการเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้าเช่นเดียวกัน
นายชัยณรงค์
เทียนชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครปฐม
ส่วนใหญ่ใช้น้ำน้อย หากเกิดปัญหาภัยแล้งหรือขาดแคลนน้ำที่จะนำมาใช้ในไลน์การผลิต
จะได้รับผลกระทบน้อย แต่หากเกิดกรณีฉุกเฉินให้ดึงน้ำจากนครชัยศรีมาใช้
เพราะมั่นใจว่าจะเพียงพอ สามารถรับมือภัยแล้งปีนี้ไปได้
สอดคล้องกับ
นายประชา มีธรรม อุตสาหกรรม จังหวัดนครราชศรีมา เปิดเผยว่า
การลงพื้นที่สำรวจทั้งในเขตอุตสาหกรรมและนอกเขตในพื้นที่ต่างอำเภอ
ยังไม่ได้รับรายงานการขาดแคลนน้ำในการใช้กระบวนการผลิต
และเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้งนี้แน่นอน
และในเขตอุตสาหกรรมก็มีการกักเก็บน้ำให้เพียงพอต่อการใช้ได้ตลอดทั้งปี
ในส่วนของโรงงานที่อยู่นอกเขตอุตสาหกรรม และในพื้นที่ต่างอำเภอ ก็มีระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
ส่วนใหญ่ใช้ระบบ ๓R
คือ การนำน้ำในโรงงานมาทำรีไซเคิล รียูส และรีดิวซ์
คือการนำมาใช้ใหม่และ ลดปริมาณการใช้น้ำลง
ซึ่งอุตสาหกรรมจังหวัดได้พยายามรณรงค์ให้แต่ละโรงงานช่วยกันประหยัดน้ำ
เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้ง
เมื่อทุกภาคส่วนร่วมมือร่วมใจเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งกันอย่างตื่นตัว
เชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตภัยแล้งที่รุนแรงในปีนี้ไปได้