ข่าวท้องถิ่น
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ เพาะพันธุ์ปลาบึกสำเร็จเพิ่มรายได้เกษตรกรมากขึ้น
วันที่ 6 พ.ย. 2555
)
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา ปชส.สุรินทร์
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดสุรินทร์ เพาะพันธุ์ปลาบึกสำเร็จเพิ่มรายได้เกษตรกรมากขึ้น
ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสุรินทร์ ประสบความสำเร็จในการเพาะพันธ์ปลาบึก ระบุการเพาะพันธุ์ปลาบึกจากปีที่ผ่านมา มีไม่ถึง 300 ตัว แต่ปีนี้เป็นปีทอง ได้เพิ่มจำนวนกว่า 3,000 ตัว แต่ไม่พอกับความต้องการ แถมราคางามอีกต่างหาก พร้อมชี้แนะให้เกษตรกรถึงแนวโน้มของตลาดนิยมมากขึ้น ขณะเดียวกันทางศูนย์วิจัยฯ สุรินทร์ได้ทดลองทำ สาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงให้กับปลาบึกได้เป็นผลสำเร็จ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้มาก และได้แจกจ่ายให้กับเกษตรกรได้ทดลองใช้แล้ว
นางสุวรรณี สกุลทอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า "ปลาบึก เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีความอร่อยของเนื้อปลาที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้ผู้บริโภคนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ศูนย์วิจัยฯสุรินทร์ ได้ทำการเพาะเลี้ยงปลาบึกได้สำเร็จ จากปีที่ผ่านมา เพาะพันธุ์ปลาบึกเพียง 300 ตัว ส่วนปีนี้เราได้ผลิตเพิ่มขึ้นถึง 3,000 ตัว นับว่าเป็นจุดแข็งที่เกษตรกรบ้านเราสามารถยึดเป็นแนวทางในการเพาะเลี้ยงเพื่อไว้บริโภคและการส่งออกต่อไป สำหรับการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นแหล่งอาหารที่อุดมด้วยโปรตีนที่มีปริมาณสูงถึงร้อยละ 50-70 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งจะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและการเจริญพันธุ์ของปลาบึกได้ดี สาหร่าย Chlorella sp. เป็นสาหร่ายสีเขียวขนาดเล็กที่มีโปรตีนสูง ใช้ในการเลี้ยงไรแดงเพื่ออนุบาลลูกปลาบึกระยะแรก จากนั้นก็นำไรแดงที่เพาะเลี้ยงมาเป็นอาหารเพื่อการอนุบาลลูกปลาบึกวัยอ่อน ทำให้อัตราการรอดและอัตราการเจริญเติบโตของปลาบึกวัยอ่อนสูงมาก
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสุรินทร์ กล่าวเสริมอีกว่า ขณะนี้ทางศูนย์วิจัยสุรินทร์ ได้ชี้แนะเกษตรกรและเครือข่ายที่เข้ารับการอบรม หลายรุ่นแล้วว่า แนวโน้มของตลาดมีผู้บริโภคนิยมมากขึ้น หรือท่านใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้เคล็ดลับและเทคนิคในการเลี้ยงปลาบึกติดต่อสอบถามรายละเอียดหรือหากต้องการติดต่อซื้อพันธุ์ปลาบึกได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดสุรินทร์ กม.3 ถนนสายสุรินทร์-ปราสาท ต.เฉนียง อ.เมือง จ.สุรินทร์
สำหรับปลาบึกเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างเพรียวขาวแบนข้างเล็กน้อย ลูกปลาบึกขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเหลือง ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำตามยาว 1 2 แถบ ครีบหางตอนบนและล่างมีแถบสีคล้ำตามยาว ในปลาขนาดใหญ่ด้านหลังของลำตัวจะมีสีเทาอมน้ำตาลแดง ด้านข้างเป็นสีเทาปนน้ำเงินและจางกว่าด้านหลัง เมื่อค่อนลงมาทางท้องสีจะจางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีขาวเงิน ตามลำตัวมีจุดสีดำค่อนข้างกลมกระจ่ายอยู่ห่าง ๆ กันเกือบทั่วตัว //////////////////////////////
กัญญรัตน์ /นิ่มนวล มานาดี อปม.สุรินทร์ / 088-7118549 ข่าว
จำนวนคนโหวต 28 คน
โหวตคะแนนให้ข่าว/บทความนี้
1
2
3
4
5
ระดับ
ให้ 1 คะแนน
0%
ให้ 2 คะแนน
0%
ให้ 3 คะแนน
4%
ให้ 4 คะแนน
14%
ให้ 5 คะแนน
82%
«
มกราคม 2564
»
อา.
จ.
อ.
พ.
พฤ.
ศ.
ส.
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
ดูปฏิทินทั้งหมด
กลุ่มของเว็บไซต์
หนังสือพิมพ์
(10)
TV Online
(6)
you tube
(1)
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์
(2)
จัดหางานจังหวัดสุรินทร์
(0)
http://www.prd.go.th/main.php?filename=talk_goverment
(0)
วาทะนายกรัฐมนตรี
การปฏิสัมพันธ์ข้อมูล
(2)
แผนการดำเนินการ
(3)
แผนการจ่ายงบประมาณประจำปี
(3)
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ถ. หลักเมือง อ. เมือง จ. สุรินทร์
โทร. 044514604 mail
prsurin@gmail.com