จังหวัดสุรินทร์ จัดโครงการสร้างทีมวิทยากรระดับจังหวัด (ครู ก) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และการสร้างอัตลักษณ์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสู่ภาคประชาชน
วันที่ 17 ก.ค.57 ที่ห้องประชุมรัตนสุวรรณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ นายยุธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานเปิดโครงการสร้างทีมวิทยากรระดับจังหวัด (ครู ก) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียนสู่ภาคประชาชนจังหวัดสุรินทร์ ประจำปี 2557 ซึ่งจังหวัดสุรินทร์ โดยปกครองจังหวัดสุรินทร์ จัดขึ้นตามยุทธศาสตร์ที่ได้รับมอบหมายจากกรมการปกครองให้ดำเนินภารกิจในการปรับตัวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เริ่มต้นการปรับทิศทางการปรับตัวของข้าราชการกรมการปกครอง ให้สอดคล้องต่อบริบทแห่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญประกอบด้วย
1. ยุทธศาตร์การวางระบบและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร
2. ยุทธศาตร์การพัมนาระบบความเชื่อมโยงด้านฐานข้อมูลต่อประชาคมอาเซียน
3. ยุทธศาตร์การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านพื้นที่ชายแดน
4. ยุทธศาตร์การรักษาความมั่นคงชายแดน
5. ยุทธศาตร์การสร้างความตะหนักรู้
ทั้งนี้จังหวัดสุรินทร์ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมของฝ่ายปกครองในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้จัดการฝึกอบรมหลักสูตรโครงการสร้างทีมวิทยากรระดับจังหวัด (ครู ก) เพื่อให้ข้าราชการ บุคลากร หรือ เจ้าหน้าที่รัฐมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการเป็นวิทยากร นำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และพัฒนาภาคประชาชนให้พร้อมในการรองรับการเข้าสู่ AEC มีหัวหน้าส่วนราชการ ปลัดอำเภอและเจ้าหน้าที่สังกัดปกครองจังหวัด 17 อำเภอ ๆ ละ 4 คน รวม 68 คน เข้าร่วมอบรมระหว่างวันที่ 17-18 กรกฎาคม 2557
นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า องค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ทางข้าราชการระดับบน หัวหน้าส่วน และข้าราชการ คิดว่ามีความเข้าใจกว่าร้อยละ 80-90 แต่ที่เป็นห่วงที่สุดคงเป็นพี่น้องประชาชน จังหวัดสุรินทร์ จึงต้องการที่จะให้ประชาชนมีความเข้าใจใน AECมากขึ้น มีการสื่อสารที่เข้าใจกันมากขึ้น โดยเฉพาะด้านภาษา ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหลักในกลุ่มประชาคม ที่จะมีการหลั่งไหลหมุนเวียนในด้านต่างๆมากขึ้น อาทิ แรงงาน การขนส่ง การศึกษา วัฒนธรรม ที่จะต้องแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน แต่อีกด้านเราก็จะต้องพัฒนาบุคลากรของประเทศให้รองรับ เริ่มจากระดับล่าง เช่น ภาคการเกษตร องค์ความรู้ของเกษตรกรต้องไม่ให้ถูกกลืน อีกด้านฝีมือแรงงานระดับล่าง ที่ทุกวันนี้คนไทยไม่ค่อยประกอบอาชีพนี้มากนัก แรงงานจากต่างชาติที่เข้ามาก็จะเป็นแรงงานระดับล่างเป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นก็จำเป็นที่จะต้องส่งเสริมทักษะวิชาชีพระดับล่างและระดับกลาง ให้มีความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในมากขึ้น ที่สำคัญทักษะด้านภาษาที่เรายังเสียเปรียบประเทศเพื่อบ้านอยู่ ก็จะต้องมีการส่งเสริมพัฒนาทักษะด้านภาษา ด้านการสื่อสาร แก่บุคลากรของประเทศ เพื่อที่รองรับการพัฒนาตามบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ส.ปชส.สุรินทร์ กำชัย วันสุข รายงาน/ไวยวิทย์ สุขเก่า ภาพ |