จังหวัดสุรินทร์นำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ต่อสาธารณชนระดับจังหวัด เพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
วันที่ 21 พ.ค.58 ที่ห้องรัตนอัมรินทร์ โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมืองสุรินทร์ นายวินัย ตรงจิตพิทักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ เป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรแก่บุคคลและองค์กรดีเด่นด้านการจัดเก็บและ บันทึกข้อมูล จปฐ. และเป็นประธานเปิดการนำเสนอผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบทต่อสาธารณ ชน ระดับจังหวัด เพื่อนำไปสู่การเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกระดับ
นางสาวอรษา โพธิ์ทอง พัฒนาการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดนโยบายของกระทรวงมหาดไทยในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดเก็บและใช้ ประโยชน์จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) และข้อมูลพื้นฐาน ระดับหมู่บ้าน (กชช. 2 ค) เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้บรรลุความจำเป็นพื้นฐานและส่งเสริมสนับ สนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับรู้ปัญหา ทราบสาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของตนเองและชุมชน นำไปสู่การพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด
จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดเก็บข้อมูล ความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ระหว่างเดือน ธันวาคม 2557 กุมภาพันธ์ 2558 และข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ระหว่างเดือน มกราคม มีนาคม 2558 ในพื้นที่ชนบทจาก 17 อำเภอ 158 ตำบล 2,207 หมู่บ้าน 265,283 ครัวเรือนจากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน 30 ตัวชี้วัด โดยสรุปประเมินตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์มี 29 ตัวชี้วัด ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์ 1 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ตกเกณฑ์ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ตัวชี้วัดที่ 19 เด็กจบการศึกษาบังคับ 9 ปี ที่ไม่ได้เรียนต่อและยังไม่มีงานทำได้รับการฝึกอบรมอาชีพ คิดเป็นร้อยละ 9.14 ถัดมาคือ ตัวชี้วัดที่ 26 คนในครัวเรือนไม่สูบบุหรี่ สำรวจจำนวน 916,095 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ 62,540 คน คิดเป็นร้อยละ 6.83 และตัวชี้วัดที่ 25 คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา ยกเว้นการดื่มเป็นครั้งคราว สำรวจจำนวน 916,095 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ 54,467 คน คิดเป็นร้อยละ 5.95
สำหรับรายได้เฉลี่ย/คน/ปี 65,752 บาท มีครัวเรือนที่ตกเกณฑ์ รายได้เฉลี่ยต่ำกว่า30,000 บาท/คน/ปี 1,085 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 0.41 ส่วน ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน 2,104 หมู่บ้าน พบว่า ไม่มีหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 1 คิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 2 หรือมีปัญหาปานกลาง 266 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 12.64 และหมู่บ้านเร่งรัดพัฒนาอันดับ 3 หรือมีปัญหาน้อย 1,838 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 87.35 สำหรับสภาพปัญหาที่สำคัญ 3 ลำดับที่ต้องเร่งรัด ได้แก่ การได้รับการศึกษาหมู่บ้านที่ปัญหา การเรียนรู้โดยชุมชนจำนวนหมู่บ้านที่ปัญหา และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนจำนวนหมู่บ้านที่ปัญหา โดยทั้งหมดจะได้นำเสนอในสาธารณชน เพื่อนำข้อมูลไปร่วมในการหาแนวทางเร่งรัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนต่อ ไป
กำชัย วันสุข ส.ปชส.สุรินทร์ รายงาน
|