สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ลงพื้นที่พบประชาชน และติดตามความคืบหน้าโครงการวิถีไทยนิยม ยั่งยืน จังหวัดสุรินทร์
วันที่ 27พ.ค.61 ที่โรงแรมทองธารินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เขต 13 พร้อมคณะ ลงพื้นที่ตามโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชนตามวิถีไทยนิยม ยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์ เพื่อเผยแพร่บทบาทและหน้าที่ของสภาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และพบปะประชาชน รับฟังความคิดเห็นและปัญหาอุปสรรค ตลอดจนติดตามการดำเนินงานของจังหวัดตามนโยบายของรัฐบาล พร้อมทั้งพบปะประชาชนตัวแทนกลุ่มพิเศษจาก 17 อำเภอ ประกอบด้วย เด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส สภาเด็ก นิสิตนักศึกษา จำนวน 300 คน โดยมีนายพรพจน์ บัณฑิตยานุรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ รายงานผลการดำเนินโครงการไทยนิยม ยั่งยืนจังหวัดสุรินทร์ นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการฯ กล่าวว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่เสมือนสะพานเชื่อมต่อกับทุกจังหวัด กระทรวง ทบวงกรม และเชื่อมต่อการดำเนินการกับรัฐบาล สำหรับโครงการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพบประชาชน มีการดำเนินการทั่วประเทศ รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนกว่า 12,000 เรื่อง ดำเนินกว่าแล้วเสร็จกว่า 9,000 เรื่อง ยกเว้นบางเรื่องที่เป็นนโยบายหลัก ที่ต้องรอแนวทางและงบประมาณจากรัฐบาล เช่น การก่อสร้างสนามบิน การเปิดด่านชายแดน การก่อสร้างถนนขนาดใหญ่ ปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชนในพื้นที่ติดป่าสงวน สำหรับการลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ เพื่อพบปะให้กำลังใจประชาชนและส่วนราชการ เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยจะมีการติดตามความสำเร็จของโครงการต่อไป นอกจากนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มอบหมายภารกิจให้จังหวัดสุรินทร์เป็นเจ้าภาพจัดงานคนพิการตาบอดแห่งประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยจัดทีมลงพื้นที่ จัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน ครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 2,154 แห่ง ข้อมูลความต้องการ กว่า 19,900 เรื่อง ต้องการได้รับการแก้ไขมากที่สุด คือ ประเภทถนน ไฟฟ้า น้ำใช้ การเพาะปลูก และประเภทน้ำเพื่อการเกษตร จากนั้นในช่วงบ่าย คณะอนุกรรมการสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เดินทางลงพื้นที่ไปยังบ้านเชียงสง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ เยี่ยมเยียนและพบปะประชาชนเพื่อติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่อำเภอจอมพระ โดยเป็นระยะเวทีที่ 4 ซึ่งเป็นเวทีสุดท้ายของการดำเนินการเพื่อสร้างการรับรู้ ปรับความคิด เพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาโดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ถึง 30 มิถุนายน ซึ่งในวันนี้เป็นการจัดเวทีครั้งที่ 4 ของหมู่บ้านเชียงสง ตำบลเมืองลีง อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีประชาชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 200 คน ทั้งนี้จากการจัดทำเวทีครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 พบปัญหาและความต้องการทั้งสิ้นจำนวน 2,629 ปัญหา ได้แก่ ปัญหาความต้องการที่สามารถดำเนินการแก้ไขในระดับพื้นที่ได้ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ 48 ปัญหา /ปัญหาความต้องการที่สามารถดำเนินการแก้ไขในระดับพื้นที่ได้ โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานในระดับพื้นที่ดำเนินการ 1,653 ปัญหา /ปัญหาความต้องการที่ไม่สามารถดำเนินการแก้ไขในระดับพื้นที่ได้ ต้องขอสนับสนุนงบประมาณ จากจังหวัด/กลุ่มจังหวัด/ภาคหรือส่วนกลางดำเนินการ จำนวน 948 ปัญหา