สคบ.
เดินหน้ายุทธศาสตร์การคุ้มครองผู้บริโภค ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
ให้ความรู้และนำตรวจสอบการเฝ้าระวังและเตือนภัยสินค้าอันตรายในตลาดชายแดนไทย-กัมพูชา
วันที่ 3 ก.ค. 61 ที่โรงแรมทองธารินทร์ อ.เมืองสุรินทร์
พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
เป็นประธานเปิดโครงการเฝ้าระวังและตรวจสอบสินค้าที่อาจไม่ปลอดภัยบริเวณพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย
ครั้งที่ 1 (จังหวัดสุรินทร์)
ซึ่ง สคบ. รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ได้มีการกำหนดมาตรการในการตรวจสอบสินค้าบริเวณชายแดนตั้งแต่ต้นน้ำ
เพื่อป้องปรามผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้นำเข้าสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ซึ่งอาจสุ่มเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคหากมีการซื้อสินค้าที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่ปลอดภัยมาใช้งาน
รวมทั้งการแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด สคบ.
จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและตรวจสอบสินค้าที่อาจไม่ปลอดภัยบริเวณพื้นที่ชายแดนของประเทศไทย
ครั้งที่ 1 ขึ้น
ณ จังหวัดสุรินทร์ โดยมุ่งหวังให้ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้าที่ปลอดภัย มีคุณภาพ
และมีมาตรฐาน พร้อมทั้งจัดการสัมมนา "การเฝ้าระวังและตรวจสอบฉลากสินค้า สินค้าอันตราย
และสินค้าที่อาจไม่ปลอดภัยบริเวณพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน
เพื่อหาแนวทางและมาตรการในการตรวจสอบสถานที่ผลิต
นำเข้า
และสถานที่จำหน่ายสินค้าตั้งแต่ต้นน้ำและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความเป็นธรรมและปลอดภัยจากการใช้สินค้า
รวมทั้งสร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการจัดทำฉลากสินค้า
การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนขั้นตอนและวิธีการเข้าตรวจสอบสินค้าของเจ้าหน้าที่
สคบ. ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ทั้งนี้
การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ
โดยการส่งเสริมการค้าในพื้นที่ชายแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางการค้าระหว่างกันในภูมิภาคอาเซียน
โดยเฉพาะในประเทศไทย ซึ่งมีชายแดนติดต่อกับ 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า กัมพูชา และลาว
ซึ่งเอื้อต่อการติดต่อค้าขาย มีการนำเข้าสินค้าต่างๆ เข้ามายังประเทศไทย
ย่อมมีโอกาส และความเสี่ยงที่อาจจะมีสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐาน
สินค้าที่ไม่มีการจัดทำฉลาก หรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง
สินค้าที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย
รวมทั้งสินค้าอันตรายที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคำสั่งห้ามขาย
นำมาจำหน่ายในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยได้
ส่วนการลงพื้นที่ตลาดการค้าชายแดนช่องจอม
ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ นายฐิตินันท์ สิงหา
ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก และคณะเจ้าหน้าที่
พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานพาณิชย์จังหวัดสุรินทร์
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสุรินทร์ สภ.เมืองสุรินทร์ และด่านศุลกากรช่องจอม
ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าที่อาจเป็นอันตราย
ป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและไม่มีมาตรฐาน สินค้าที่ไม่มีการจัดทำฉลาก
หรือจัดทำฉลากไม่ถูกต้อง และสินค้าที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย
รวมทั้งสินค้าอันตรายที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งห้ามขาย
ซึ่งอาจมีการลักลอบฝ่าฝืนนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย
รวมทั้งการแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
จากการตรวจสอบ
พบมีสินค้าประเภทเครื่องใช้อุปโภคบริโภค เช่น ถ้วย จาน ช้อน ปิ่นโต
ไม่ได้มีการจัดทำฉลากที่ถูกต้อง และไม่พบตัวผู้ขายสินค้าดังกล่าว
เจ้าหน้าที่จึงได้เก็บตัวอย่างสินค้าส่งไปตรวจสอบยังห้องแล็ป
ว่าเป็นสินค้าที่มีอันตรายหรือไม่
และแจ้งให้ทางผู้ดูแลตลาดให้ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ค้าได้จัดทำฉลากสินค้าให้ถูกต้องด้วย
และไม่นำสินค้าที่ก่อเกิดอันตรายต่อผู้บริโภคมาขาย
นายฐิตินันท์ สิงหา
ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก กล่าวว่า
วันนี้สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคได้รับมอบหมายจากนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ
เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้มาติดตามตรวจสอบสินค้าที่เป็นอันตราย
ที่คณะกรรมการมีคำสั่งห้ามขาย โดยเฉพาะบารากุและบุหรี่ไฟฟ้าและอุปกรณ์จัดฟันแฟชั่น
ซึ่งจากการลงพื้นที่ตรวจสอบ วันนี้ร้านส่วนใหญ่ได้มีการปิดตัวลง
เนื่องจากสาเหตุบางประการ
ทำให้การตรวจสอบเกี่ยวกับสินค้าอันตรายไม่ได้ผลเท่าที่ควร
นอกจากการมาตรวจสินค้าอันตรายแล้ว
เราก็ได้มีการตรวจสอบฉลากสินค้า ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
กำหนดให้สินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
หรือสินค้าที่ผลิตโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เป็นสินค้าที่ต้องควบคุมฉลาก
ซึ่งจากการตรวจสอบในวันนี้ ก็พบว่ามีสินค้าประเภทเครื่องใช้อุปโภคบริโภคเช่น ถ้วย
จาน ช้อน และปิ่นโต ซึ่งเป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศไม่มีการจัดทำฉลาก
และเมื่อสอบถามถึงผู้ขายก็ไม่พบผู้ขายแต่อย่างใด
ในวันนี้ก็ได้แต่เก็บข้อมูลเพื่อไปนำเรียนทางเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เพื่อนำเรียนรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
สำหรับจังหวัดสุรินทร์
ได้กำหนดพื้นที่ตรวจสอบเฉพาะที่บริเวณด่านด่านช่องจอมที่เดียว
เนื่องจากเป็นตลาดการค้าชายแดน ซึ่งจะมีสินค้ามากมายจากประเทศเพื่อนบ้าน
มาวางจำหน่ายให้พี่น้องประชาชน ซึ่งเป็นผู้บริโภค ซึ่งทาง สคบ.
ก็ได้ดำเนินการตามกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ โดยปัญหาอุปสรรคที่เราเจอ
เราอยากจะเห็นสภาพของจริงว่าในตลาดการค้าชายแดนเอง
มีสินค้าที่วางขายอะไรบ้างราคาสินค้าที่วางขายนี้มีสินค้าอะไรที่เป็นอันตรายและมีสินค้าที่อาจเป็นอันตรายหรือไม่
ซึ่งถ้าเราพบว่ามีสินค้าใดที่สุ่มเสี่ยงและอาจเป็นอันตราย ก็จะใช้อำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
ในการเก็บตัวอย่างสินค้าเข้าไปส่งห้องแล็ปทำการตรวจสอบ
และอาจจะมีการนำเข้าสู่คณะกรรมการเพื่อพิจารณาตามอำนาจหน้าที่ต่อไป
|